ตำนานเทพและวิธีบูชา > ตำนานพระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี)

ตำนานพระแม่ปราวตี (พระแม่อุมาเทวี)

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีความเชื่อว่า ในจักรวาลนี้ปกครองโดยมหาเทพสูงสุดเพียง 3 พระองค์ คือ พระพรหม พระผู้สร้าง, พระวิษณุ(หรือพระนารายณ์) พระผู้ปกป้องคุ้มครองม, พระศิวะ(หรือพระอิศวร) พระผู้ทำลาย

พระแม่ปารวตี เป็นพระชายาคู่บารมีของพระศิวะ มีพระโอรสด้วยกันสองพระองค์คือ พระขันธกุมาร เทพแห่งสงคราม และพระพิฆเนศ เทพแห่งปัญญา (แต่เดิมพระศิวะในอีกภพหนึ่งมีชายาชื่อ พระแม่อุมาเทวี แต่ต่อมาพระนางได้สิ้นอายุขัย แต่ก็ได้มาเกิดใหม่เป็นพระแม่ปารวตี ดังนั้นผู้ศรัทธาหลายๆคนก็ยังขานพระนามของพระนางว่า พระแม่อุมาเทวี)

ชาวฮินดูโดยเฉพาะไศวะนิกายที่บูชาพระศิวะเป็นมหาเทพสูงสุด มีความเชื่อว่า พระนางทรงเป็นผู้หญิงสัญลักษณ์ของพลังอิสตรีที่คอยสนับสนุน อุทิศตน และเป็นพื้นฐานอำนาจแห่งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆของพระศิวะสวามี ในเทวาลัย ผู้บูชามักจะสร้างฐานโยนี(รูปปั้นรูปอวัยวะเพศหญิง สัญลักษณ์การให้กำเนิดของพระแม่ปารวตี)ไว้รองรับศิวลึงค์(รูปปั้นอวัยวะเพศชาย สัญลักษณ์แห่งการก่อกำเนิดของพระศิวะ)

พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัฒกับพระนางไมนาวติ ราชาและราชินีแห่งขุนเขาหิมาลัย นอกจากนี้พระนางยังเป็นพระขนิษฐาของพระวิษณุและพระแม่คงคาอีกด้วย (คำว่า ปาวรตี มาจากคำว่า ปราวัต แปลว่า นางแห่งขุนเขา มาจากที่มาของพระนางนั่นเอง)พระนางเกิดในคืนที่ 9 เดือนมธุ (มีนาคม - เมษายน) และในช่วงวันขึ้น 1 – 9ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืน ถือว่าเป็นเทศกาลนวราตรี ทีเชื่อว่าเป็นเวลาที่พระองค์จะเสด็จมาให้พรกับมนุษย์ จึงเป็นวันที่ชาวฮินดูจะมีการเฉลิมฉลองแห่งขบวนพระแม่อย่างยิ่งใหญ่

พระนางได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก และอุทิศตน

พระนางมีอิทธิฤทธิ์และบารมีของมหาเทวีที่ไม่มีเทวีผู้ใดเทียบเคียงได้ ทรงมีเสือเป็นพาหนะบริวาร และมีศาสตราวุธประจำพระองค์อันได้แก่ ตรีศูล สัญลักษณ์แห่งการทำลายสิ่งชั่วร้าย และดาบ สัญลักษณ์แห่งความเฉียบขาด มีอำนาจเหนือผู้อื่น  

และที่สำคัญ หากพระนางอวตารรวมเป็นร่างเดียวกับ พระแม่ลักษมี(ชายาของพระวิษณุมหาเทพ) และพระสุรัสวิดี(ชายาของพระพรหม) พระนางก็จะกลายเป็นมหาเทวีที่ทรงพลังอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล มีนามว่า “ตรีเทวี” (คล้ายกับการอวาตารรวมเป็นร่างเดียวของ พระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ ที่เรียกว่า “ตรีมูรติ”)

กำเนิดและตำนานรักของพระแม่อุมาเทวี

มีอยู่กาลหนึ่งที่พระศิวะได้อวตารมายังโลกมนุษย์ในภาคของ “มุนีภพ” เป็นชายหนุ่มไว้หนวดเครารุงรังดูซอมซ่อ แต่งกายปอนๆด้วยเศษผ้าเก่า มีกระดูกร้อยเชือกเป็นสร้อยคอ กลิ่นตัวเหม็นสาบ ชอบนอนในป่าช้าหรือสถานที่วิกเวก (พระองค์มีความตั้งพระทัยเพียงแค่จะบำเพ็ญตบะบารมีเท่านั้น) แต่ก็ได้มีหญิงสาวนามว่า พระนางสติ เป็นพระราชธิดาของพระทักษะประชาวดี ได้มาพบและเกิดเห็นในนิมิตเห็นว่าตัวตนที่แท้จริงของ มุณีภพ เป็นภาคอวตารของพระศิวะ พระนางจึงตกหลุมรักและขอเป็นภรรยาคอยรับใช้มุนีภพตั้งแต่นั้นมา

ฝ่ายพระบิดา แม้ไม่เห็นด้วย แต่ก็มิได้ขัดเคืองใดๆ แต่มีวันหนึ่ง พระทักษะประชาวดีได้จัดทำพิธียัญกรรม และได้เชิญแขกมากมายทั้งบนโลกมนุษย์และสวรรค์ชั้นฟ้าให้มาร่วมในพิธี แต่!มิได้เชิญมุณีภพ เนื่องจากไม่พอใจในภาพลักษณ์ที่ซอมซ่อของชายหนุ่มผู้นี้ เมื่อพระนงสติได้ทราบเรื่อง จึงทูลขอพระบิดาเพื่อให้มุนีภพเข้าร่วมในพิธีนี้ด้วย แต่ท้ายที่สุดพระบิดาก็ไม่ยินยอม พระนางสติเลยตัดสินใจกระโดดเข้ากองไฟปลิดชิวิตของตัวเองเพื่อเป็นการรักษาเกียรติของสามี

พระศิวะทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก และก็ไม่เคยลืมพระนางเลย และในที่สุดก็ได้พบกับพระนางอีกเมื่อพระนางกลับมาเกิดใหม่เป็น พระนางปารวตี แต่ครั้งแรกที่พบกันพระนางจะจำอดีตในชาติภพก่อนไม่ได้ แต่ด้วยบารมีและความผูกพันกันอย่างลึกซึงในชาติภพเดิม ก็ทำให้พระนางจำความรักระหว่างพระนางกับพระศิวะได้ในที่สุด

การอวตารครั้งสำคัญของพระแม่ปราวตี

วิธีบูชาพระแม่อุมาเทวี

พระองค์ทรงเป็นมหาเทวีที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตากรุณา และได้รับการบูชาว่าเป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ใครที่หมั่นบูชา แล่ะท่องบทสวดถวายพระองค์อย่างสม่ำเสมอ เชื่อกันว่าพระองค์จะประทานพร ยศถาบรรดาศักดิ์ อำนาจบารมี ความเจริญรุ่งเรือง และโชคลาภให้กับผู้ที่บูชา

ของถวาย

บทสวดบูชา

โอม เจ มาตา กี โอม ชยะ มาตา กี โอม ไชย มาตา กี

โอม ชยะ ศรี ปารวตี มาตา โอม ไจ มาตา ปารวตี

โอม มหาอุมาเทวี นมัส โอม มหาศักติ ปารวตี มาตา

โอม ศรี มหาอุมาเทวี นะมะฮา โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา เจ นะมะฮา

โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ

ทุติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ

ตะติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ


พุทธศิลป์ดินศิลา

บจก. คอสติค อินเตอร์เนชั่นแนล
461/1-3 ซ.แก้วฟ้า ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

 089-7623334
 admin@dinsila.com

    Line ID: @dinsila

Copyright 2020.  All rights reserved.